วันอังคารที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2556

ประวัติ หลวงพ่อพระเจ้าแสนสามหมื่น ณ วัดสังขลิการาม อ.โซ่พิสัย จ.บึงกาฬ

ประวัติ หลวงพ่อพระเจ้าแสนสามหมื่น ณ วัดสังขลิการาม อ.โซ่พิสัย จ.หนองคาย

      ด้วย ความศรัทธาในองค์หลวงพ่อพระเจ้าแสนสามหมื่น อันเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองเป็นที่เคารพสักการะของ ประชาชนชาวอำเภอโซ่พิสัยมาเป็นเวลาช้านาน ข้าพเจ้าได้จัดทำประวัติหลวงพ่อแสนขึ้นมาไหม่ต่อจากคณะผู้จัดทำครั้งที่แล้ว คือคุณก้องเกียรติ วิทยรัตนโกวิท ผู้จัดการธนาคารทหารไทย สาขาโซ่พิสัย, คุณสุจริต ชัยดำรงค์กุล ผู้จัดการร้านทองสุจริต และคุณประทวน ทองประเทือง ผู้จัดการร้านจิ๊บมอเตอร์ ที่ได้รวบรวมและจัดพิมพ์ประวัติหลวงพ่อพระเจ้าแสนสามหมื่นไว้ก่อนแล้ว ข้าพเจ้าได้คัดลอกของเดิมและเพิ่มเติมแก้ไขบ้างบางส่วนที่เห็นว่าเหมาะสมและ จัดพิมพ์เป็นรูปเล่มเพื่อแจกจ่ายให้กับประชาชนทั่วไป เพื่อเป็นการเชิดชูบารมีแห่งองค์หลวงพ่อฯ และสืบทอดพระพุทธศาสนาให้สถาพรต่อไป
      ขออานิสงส์อันเกิดจากกุสลเจตนาอันบริสุทธิ์ในการจัดพิมพ์หนังสือนี้ จงมีแก่ข้าพเจ้า ญาติมิตร และคณะผู้จัดทำชุดก่อน ตลอดจนพุทธศาสนิกชนโดยทั่วกันเทอญ
      นายศักดิ์ชาย อิสสะอาด ผู้พิมพ์ ๒๓ ต.ค. ๒๕๔๕
ประวัติพระเจ้าแสนสามหมื่น
    พระเจ้าแสนสามหมื่น สร้างในสมัยเชียงแสนเป็นราชธานี ซึ่งประมาณ ๘๐๐ ปีมาแล้ว เจ้าอนุวงษ์แห่งนครเวียงจันทน์ได้อัญเชิญพระเจ้าแสนสามหมื่น มาประดิษฐ์สถานไว้ในหอไตร(เวียงจันทน์)เป็นเวลาหลายร้อยปีมาแล้ว

     รูปและขนาดของพระเจ้าแสนสามหมื่น
๑. ความกว้างของบัลลังก์ ชั้นที่ ๑ ๑๙ นิ้ว
๒.ความกว้างของบัลลังก์ ชั้นที่ ๒ ๑๗ นิ้ว
๓. วัดรอบบัลลังก์ ๓๒ นิ้ว
๔. หน้าตักปฏิดากรณ์ ๑๑ นิ้ว
๕. วัดรอบต้วรวมทั้งสองแขน ๑๗.๕ นิ้ว
๖. วัดรอบคอ ๖.๕ นิ้ว
๗. ใบหูยาว ๓ นิ้ว
๘. หน้าผากกว้าง ๒.๕ นิ้ว
๙. หน้าผากจรดปลายคาง ๓ นิ้ว
๑๐.ยอดเศียรยาว ๔ นิ้ว
๑๑. จากบัลลังก์ชั้นที่ ๑ ถึงเศียรสูง ๓๒ นิ้ว
๑๒. หน้าอกระหว่างหัวนมทั้งสองข้าง ๒ นิ้ว

ลักษณะทั้งหมดนี้วัดไว้เมื่อวันที่ ๑๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๑๔ เพื่อปกป้องการสูญหาย กรรมการวัดทั้งหมดและชาวบ้านโซ่ ได้พร้อมกันวัดไว้เพื่อเป็นหลักฐานเพื่อ เป็นอนุสรณ์ของพระพุทธศาสนาต่อไป

หลวงพ่อพระเจ้าแสนสามหมื่น : ได้มาอยู่วัดนิโคตร(วัดมณีโคตร) บ้านปากห้วยหรือบ้านปากน้ำ ปัจจุบันคืออำเภอโพนพิสัย ซึ่งเมื่อประมาณ ปี พ.ศ. ๒๔๒๓ ชาวบ้านโส่หรือชาวโซ่ ได้อพยพมาตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนอยู่ในบ้านโซ่ปัจจุบัน ประมาณ ๒๐–๓๐ หลังคาเรือน ครั้นต่อมาปี พ.ศ. ๒๔๔๕ ชาวบ้านปากน้ำคุ้มวัดจุมพล อำเภอโพนพิสัยในปัจจุบันได้อพยพครอบครัวมาอยู่ร่วมกับชาวบ้านโส่หรือโซ่ได้ ตั้งบ้านเรือนอยู่ริมห้วยซำ ปัจจุบันคือท้ายอ่างเก็บน้ำด้านทิศตะวันตก ในเวลาต่อมาเห็นว่าบ้านเรือนจะเจริญรุ่งเรืองไปเรื่อย ๆ และสถานที่ตั้งหมู่บ้านก็เป็นที่ต่ำ ไม่พอที่จะขยายบ้านเรือนออกไป จึงพากันย้ายครอบครัวหาที่ตั้งใหม่ และได้พบวัดเก่าแก่โบราณวัดหนึ่งทรุดโทรมมาก แต่ใบเสมายังอยู่ครบจึงพากันบูรณและปฏิสังขรณ์วัดขึ้นมาใหม่ ในตอนนั้นบริเวณวัดเป็นป่าดงดิบมีสัตว์ป่าดุร้ายอยู่มากดังนั้นพวกชาวบ้าน จึงได้พากันสร้างบ้านอยู่ไกล้กับวัด จนต่อมาเมื่อหมู่บ้านได้เจริญขึ้น มีผู้คนอพยพมาอยู่เพิ่มมากขึ้นพระอธิการจันที มังศรี เห็นว่ายังไม่มีพระประธานอยู่ประจำโบสถ์ จึงเดินทางไปอัญเชิญพระเจ้าแสนสามหมื่นซึ่งขณะนั้นประดิษฐ์สถานอยู่ที่วัดนิ โคตร ที่วัดนิโคตรนี้มีพระแสนกับพระเสียงประดิษฐ์สถานอยู่ ซึ่งตามประวัติเดิมนั้นที่นครเวียงจันทน์ในสมันนั้นพระพุทธศาสนาเจริญ รุ่งเรืองมาก และในขณะนั้นชาวลาวและชาวไทยมีความสัมพันธิ์อันดีต่อกัน จึงมอบพระพุทธรูปให้แก่ชาวไทย คือพระศุกร์ พระเสริม พระใส พระแสน และพระเสียง โดยได้อัญเชิญลงแพล่องมาตามลำน้ำงึม เหตุที่นำแพล่องมาตามลำน้ำงึมนั้น เพราะที่เวียงจันทน์นั้นทำสงครามกับข้าศึกอยู่จึงหลบข้าศึกล่องแพลงมาเรื่อย ๆ ก็เกิดแพแตกแท่นพระศุกร์ ตกลงไปในน้ำ ที่บริเวณนั้นชาวบ้านจึงเรียกว่าบ้านเวิ่นแท่นและเมื่อล่องเรือมาถึงปากน้ำ งึม เกิดแพแตกอีกคราวนี้พระศุกร์ได้ตกลงน้ำ แต่เมื่อจะนำพระศุกร์ที่ตกน้ำขึ้นแพก็ไม่สามารถนำขึ้นมาได้ไม่ว่าจะใช้วิธี ใดๆก็ตามและต่อมาพระศุกร์ก็ได้สูญหายไปไม่มีผู้ใดพบเห็นอีก และที่บริเวณพระศุกร์ตกน้ำนั้นเรียกว่าเวินศุกร์ ต่อมาเมื่อซ่อมแพเสร็จแล้วจึงนำแพล่องมาถึงโพนพิสัย ชาวโพนพิสัยจึงอัญเชิญพระเจ้าแสนสามหมื่นกับพระเสียงไว้ที่วัดนิโคตร และเมื่อแพได้ล่องมาถึงหนองคายชาวหนองคายจึงได้อัญเชิญพระใสประดิษฐ์สถานไว้ ที่วัดโพธิ์ชัย ส่วนพระเสริมนั้นได้ถูกอัญเชิญไปประดิษฐ์สถานที่วัดประทุมวรารามกรุงเทพฯ เมื่อเจ้าอธิการจันที มังศรีได้ไปอัญเชิญพระเจ้าแสนสามหมื่นจากโพนพิสัยมาประดิษฐ์สถานไว้ที่บ้าน โซ่ตามที่กล่าวมาแล้วข้างต้น

      ครั้นต่อมา พ.ศ. ๒๔๖๒ พระเจ้าแสนสามหมื่นได้ถูกคนร้ายขโมยไปโดยหลบหนีไปทางบ้านหนองยอง ตำบลหนองยอง อำเภอปากคาดในปัจจุบัน โดยคนร้ายได้นำพระเจ้าแสนสามหมื่นไปซ่อนไว้ใต้ต้นดอกเตยนอกหมู่บ้านไกล้ก ับบ่อน้ำ ซึ่งในเวลานั้นได้มีหญิงชาวบ้านออกไปตักน้ำพร้อมกับสุนัขหลายตัวเมื่อไปถึง ใต้ต้นดอกเตยที่คนร้ายซ่อนพระเจ้าแสนสามหมื่นไว้สุนัขก็พากันส่งเสียงเห่า แต่หญิงนางนั้นก็ไม่ได้สนใจ พอกลับมาตักน้ำอีกรอบพวกสุนัขก็ยังเห่าไม่หยุด จึงได้เข้าไปดูเห็นพระเจ้าแสนสามหมื่นถูกซ่อนอยู่ใต้ต้นดอกเตย นางตกใจกลัวจึงรีบไปบอกชาวบ้านพวกชาวบ้านก็พากันอัญเชิญไปไว้ที่วัดแล้วก็ ประกาศหาเจ้าของ เมื่อชาวบ้านโซ่ทราบข่าวก็ตามไปดูปรากฏว่าเป็นหลวงพ่อพระเจ้าแสนสามหมื่น จริงจึงได้อัญเชิญกลับมาไว้ที่วัดสังขลิการามเช่นเดิม

      ต่อมาเมื่อวันที่ ๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๑๔ พระเจ้าแสนสามหมื่นได้ถูกคนร้ายขโมยไปอีกครั้งซึ่งครั้งนี้คนร้ายได้หลบหนี ไปทางบ้านหนองท่มท่ากะดัน เขตอำเภอบ้านม่วง จังหวัดสกลนคร โดยนำไปซ่อนไว้ในน้ำห้วยมาย แล้วต่อมาก็นำไปไว้ที่บ้านของตนเอง ที่อำเภอสว่างแดนดิน พอรุ่งเช้าคนร้ายก็เสียชีวิตโดยไม่ทราบสาเหตุ ภรรยาได้นำพระเจ้าแสนสามหมื่นไปฝากไว้ที่วัดใกล้ๆบ้าน พอตกกลางคืนเจ้าอาวาสไหว้พระสวดมนต์เสร็จก็เข้านอนุร่งเช้าตื่นขึ้นมาก็ต้อง แปลกใจเพราะนอนเอาหัวลงปลายเท้าและเอาเท้าขึ้นไปเกยหมอนด้วยเหตุนี้เจ้า อาวาสจึงนำพระเจ้าแสนสามหมื่นไปฝากไว้ที่สถานีตำรวจอำเภอสว่างแดนดิน ในคืนนั้นนักโทษที่คุมขังอยู่ได้หนีออกไปโดยไม่มีร่องรอยการงัดกุญแจเลย ทำให้ตำรวจบนโรงพักต่างก็กล่าวหาซึ่งกันและกันว่าเป็นผู้ปล่อยให้นักโทษหลบ หนีไป แต่เมื่อตำรวจพากันไปอธิฐานต่อหน้าพระเจ้าแสนสามหมื่นขอให้นักโทษที่หลบหนี ไปนั้นอย่าได้หนีไปไกล วันต่อมาตำรวจก็จับนักโทษกลับมาได้โดยพบว่าเดินวนเวียนอยู่ในตลาดไม่สามารถ หาทางออกไปจากตลาดได้ และเมื่อจับนักโทษกลับมาแล้วได้ก็สอบถามว่าหนีออกไปได้อย่างไร ซึ่งนักโทษก็ตอบว่าลูกกรงที่ขังอยู่นั้นแยกห่างออกจากกันเป็นศอกสามารถเดิน เข้าออกได้อย่างสบาย ด้วยอภินิหารของหลวงพ่อพระเจ้าแสนสามหมื่นจึงทำให้ตำรวจและชาวบ้านเกรงกลัว ประกาศหาเจ้าของ ซึ่งต่อมาชาวบ้านโซ่ทราบข่าวก็ได้ส่งหลวงปู่ป้อกับนายเผือก ตรีรัตน์ พร้อมผู้ติดตาม ๔-๕ คน ไปรับกลับมา แต่พอนำหลวงพ่อพระเจ้าแสนสามหมื่นไปขึ้นรถก็ไม่สามารถติดเครื่องยนต์ได้ ดังนั้น คณะผู้ติดตามจึงเก็บดอกไม้แต่งเป็นขันธ์ ๕ ขันธ์ ๘ อัญเชิญหลวงพ่อฯพร้อมเทวดาผู้รักษาท่านจึงสามารถเดินทางกลับมาได้ เมื่อมาถึงก็ได้ประกาศให้ชาวบ้านมาสงฆ์น้ำท่าน ก็เกิดอัศจรรย์คือฝนตกลงมาทั้งที่แดดยังออกอยู่ หลังจากนั้นก็อัญเชิญหลวงพ่อพระเจ้าแสนสามหมื่นประดิษฐ์สถานที่วัดสังขลิกา รามจนถึงทุกวันนี้

ภาคอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาร(เป็นความเชื่อส่วนบุคคล กรุณาใช้วิจารณญาณ)
๑. เมื่อมีการสาบานต่อหลวงพ่อแสนสามหมื่น ถ้าผิดคำสาบาน จะเกิดเหตุการณ์ร้ายแรงหรือมีอันเป็นไปภายใน ๗–๑๕ วัน
๒. คนร้ายขโมยหลวงพ่อแสนสามหมื่นไป ๒ ครั้ง ต่อมาปรากฏว่าคนร้ายที่ขโมยไปเสียชีวิตโดยไม่ทราบสาเหตุทุกคน
๓. หากเกิดวิกฤตการณ์ขึ้นที่บ้านโซ่ ชาวบ้าน จะทำพิธีบวงสรวงพระเจ้าแสนสามหมื่นแล้ว เหตุการณ์ต่างๆ จะกลับคืนสู่ปรกติ
๔. บรรดาผู้พบเห็นทั้งหลาย หากเคารพบูชาจะเกิดผลดี หากหมิ่นประมาทจะมีอันเป็นไป
๕. การถ่ายภาพพ่อแสนสามหมื่น สมัยเมื่อมีการถ่ายภาพครั้งแรกๆมักถ่ายไม่ติดจนกล้องพัง ต่อมาชาวบ้านได้ทำพิธีขอจึงถ่ายภาพติดจนถึงทุกวันนี้

มงคลชีวิต
อย่านอนตื่นสาย             อย่าอายทำกิน
อย่าหมิ่นเงินน้อย             อย่าคอยวาสนา
อย่าเสวนาคนชั่ว             อย่ามั่วอบายมุข
อย่าสุขก่อนห่าม             อย่าพล่ามก่อนทำ
อย่ารำก่อนเพลง             อย่าข่มเหงผู้น้อย
อย่าคอยแต่ประจบ             อย่าคบแต่เศรษฐี
อย่าดีแต่ตัว             อย่าชั่วแต่คนอื่น
อย่าฝืนกฎระเบียบ             อย่าเอาเปรียบสังคม
อย่าชื่นชมคนผิด             อย่าคิดเอาแต่ได้
อย่าใส่ร้ายคนดี             อย่ากล่าววจีมุสา
อย่านินทาพระเจ้า             อย่าขลาดเขลาเมื่อมีทุกข์
อย่าสุขจนลืมตัว             อย่าเกรงกลัวงานหนัก
อย่าพิทักษ์พาลชน             อย่าลืมตนเมื่อมั่งมี

ที่มา : sophisai.tripod.com

'บึงกาฬ' ถิ่นนี้มีตำนานเล่าขานถึง





ไม่น่าจะใช่ที่ใครจะมาชุบมือเปิบเอาว่า ฝ่ายการเมืองคือ ผู้เข้ามาปลุกปั้น แล้วก็ผลักดันให้อำเภอเล็ก ๆ อย่าง บึงกาฬ  ผงาดขึ้นเป็นจังหวัดที่ 77 ของไทย ไปเมื่อช่วงต้นปีที่ผ่านมา แต่มันน่าจะเป็นเพราะดินแดนซึ่งอยู่เหนือริมฝั่งแม่น้ำโขง ตรงกันข้ามกับแดนดินถิ่นกุหลาบปากซัน แห่งเมืองปากซัน แขวงบลิคำไซ สปป.ลาว มีศักยภาพที่เพียงพอต่อการที่จะยกฐานะขึ้นเป็นจังหวัดมากกว่าเหตุผลอื่น
     
กล่าวคือมี อาณาบริเวณกว้างไกลกว่า 4,305,746 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ 8 อำเภอ ที่ต้องแยกตัวออกมาจากจังหวัดหนองคาย พร้อมกันกับอำเภอบึงกาฬ กับจำนวนประชากรอีกประมาณ 4 แสนคน 
     
ประเด็นสำคัญที่สร้างความพึงพอใจให้กับพ่อแม่พี่น้องชาวบึงกาฬ และกลุ่มอำเภอใกล้เคียงเป็นอย่างมาก ก็ตรงที่ไม่ต้องลำบากลำบนดิ้นรนไปทำธุรกรรมใด ๆ ถึงจังหวัดหนองคาย ซึ่งเคยเป็นจังหวัดแม่ และอยู่ห่างออกไปประมาณ 136 กิโลเมตร หรือจะเป็นตัวจังหวัดนครพนมที่อยู่ห่างบึงกาฬประมาณ 170 กิโลเมตร กันอีกต่อไป
     
ถึงกระนั้น...บึงกาฬก็ยังได้ชื่อว่าเป็นแหล่งตำนานสถานที่หนึ่ง ที่ถูกบันทึกเรื่องราวไว้อย่างน่าสนใจในหลาย ๆ ตำนาน อย่างเช่น สถานะเดิมที่ดินแดนแห่งนี้เคยเป็นเพียงตำบลเล็ก ๆ ในเขตปกครองของอำเภอชัยบุรี จังหวัดนครพนม ต่อมาได้เกิดมีการย้ายทำเลที่ตั้งของตัวอำเภอชัยบุรี ไปตั้งอยู่ริมฝั่งหนองน้ำแห่งหนึ่งที่มีชื่อเรียกว่า “บึงกาญจน์” ตรงกันข้ามกับเมืองปากซัน สปป.ลาว และให้ไปขึ้นตรงกับจังหวัดหนองคาย
     
โดยชื่อบึงกาญจน์ที่ว่านี้เกิดขึ้นจากการที่ข้าราชการฝ่ายปกครองท่านหนึ่ง ได้เดินทางไปตรวจราชการที่อำเภอชัยบุรี และพบว่ามีหนองน้ำแห่งหนึ่งยาวประมาณ 300 เมตร กว้าง 160 เมตร และชาวบ้านต่างเรียกหนองน้ำแห่งนี้ว่า “บึงกาญจน์” เพื่อไม่ให้เป็นการซับซ้อนหลังการย้ายอำเภอชัยบุรี ไปขึ้นกับจังหวัดหนองคายแล้ว ก็เปลี่ยนชื่ออำเภอเสียใหม่จากชัยบุรี ให้กลายมาเป็นบึงกาญจน์ ตามชื่อของหนองน้ำที่ตั้งอยู่
     
และต่อมาคือในปี พ.ศ. 2477 ทางฝ่ายปกครองกลับเห็นว่า การเขียนชื่ออำเภอว่าบึงกาญจน์นั้นดูจะยากลำบาก จึงได้ลงทุนเปลี่ยนชื่อใหม่ว่า “บึงกาฬ” เพื่อความสะดวกและเข้าใจง่าย ทั้ง ๆ ที่ชื่อและความหมายดูจะโหดกว่าชื่อเดิมซึ่งดูสละสลวยกว่าอยู่แล้ว?
     
ตำนานอีกด้านหนึ่งที่เล่ากันมานานว่า เมื่อปี พ.ศ. 2137 ได้เกิดศึกชาวฮ่อเข้าไปขับไล่กลุ่มคนไทยออกจากลุ่มน้ำโขง ให้อพยพลงสู่ใต้ จนกระจัดกระจายกันออกไปตามแนวขนานของลุ่มน้ำ ระหว่างที่พากันอพยพลงไปนั้น พ่อตู้พรมซึ่งเป็นกลุ่มคนไทยที่ต้องชะตากรรมในครั้งนั้น เกิดต้องมาสูญเสียเมียรักด้วยเชื้ออหิวาตกโรคในระหว่างการเดินทาง คงเหลือแต่ลูกสาวสองคน คือ “สมสี” กับ “บัวลี” ที่อพยพถอยร่นลงมาด้วยกัน จนถึงริมฝั่งโขงด้านตรงข้ามกับเมืองปากซัน

พ่อตู้พรมซึ่งเป็นผู้ที่มีวิชาอาคมเก่งกล้า ปล่อยลูกสาวทั้งสองให้พำนักกันอยู่ตรงนั้น ส่วนตัวเองกลับมุ่งหน้าไปอาศัยอยู่ทางดอนหอทุ่ง ซึ่งอยู่ไม่ไกลออกไป แล้วก็เสียชีวิตในเวลาต่อมา สมสีกับบัวลีจึงฝังศพพ่อตู้พรมไว้ที่ดอนหอทุ่ง ซึ่งต่อมาก็คือ “หนองกุดทิง” ที่เห็นกันอยู่ในปัจจุบันนี้ ทั้งสมสีและบัวลีที่ยึดมั่นการครองตัวเป็นโสด เมื่อต้องสูญเสียบุพการีคือแม่และพ่อ ก็ให้รู้สึกโศกเศร้าเสียใจ ถึงขั้นล้มป่วยและตายไปในที่สุด หลังจากนั้นได้มีผู้สร้างสุสานให้แก่นางทั้งสองขึ้นที่บ้านของตู้จารย์มา ต้นหาบึ้ง ครั้นพอปี พ.ศ. 2498 ก็ได้มีการย้ายสุสานของนางทั้งสองไปเก็บไว้ตรงกลางใจเมืองบึงกาฬ และสร้างขึ้นเป็นศาลหันหน้าออกไปยังริมฝั่งแม่น้ำโขง
     
เรียกขานศาลแห่งนี้กันว่า “เจ้าแม่สองนาง” โดยถือเป็นศาลคู่บ้านคู่เมืองที่เชื่อกันว่า มักมีปาฏิหาริย์ให้ปรากฏอยู่เป็นประจำ และผู้คนที่ผ่านไปมาก็นิยมยกย่องพร้อมบูชา เพื่อความเจริญก้าวหน้าในชีวิต
     
ในด้านศาสนา บึงกาฬมี วัดโพธาราม ที่ได้ชื่อว่าเป็นวัดเก่าแก่มานาน ภายในพระอุโบสถ ยังเป็นที่ประดิษฐานหลวงพ่อใหญ่ พระพุทธรูปปางมารวิชัย ที่มีพุทธลักษณะงดงาม โบกฉาบด้วยปูน
     
ถัดมาก็คือ วัดอาฮง ตั้งอยู่ในเขตบ้านอาฮง ประชิดติดแม่น้ำโขง โดยพื้นที่ภายในวัดรายล้อมด้วยธรรมชาติที่เป็นโกรกหินเรียงรายรอบศาสนสถาน ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อประกอบพิธีกรรมทางศาสนา ส่วนบริเวณด้านหน้าที่เป็นลำน้ำโขงซึ่งมีความลึกที่สุดนั้น กลายเป็นแหล่งน้ำวนทำให้ผู้คนในท้องถิ่นเชื่อกันว่า ณ ที่แห่งนั้นคือ “สะดือแม่น้ำโขง” และสามารถมองเห็นปาฏิหาริย์บั้งไฟพญานาคได้ในช่วงวันออกพรรษา
     
ศาสนสถานที่กลายมาเป็นแหล่งท่องเที่ยวระดับแนวหน้าควบคู่อีสานมานาน ได้แก่ วัดเจติยาคีรีวิหาร หรือ “วัดภูทอก” ที่หมายถึงภูเขาซึ่งตั้งอยู่บนที่โดดเดี่ยว ในเขตบ้านคำแคน ต.นาแสง อ.ศรีวิไล ที่นี่จัดเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงพุทธรักษ์ เพื่อการแสวงบุญหรือธรรมจาริก ด้วยมีการจัดสร้างสะพานเรือนไม้ ให้สามารถก้าวเดินขึ้นไปชมธรรมชาติของภูหินที่วางทอดกันเป็นขั้น ๆ ถึง 7 ชั้นได้แต่ละชั้นนอกจากจะมีความเงียบสงบ เหมาะสำหรับการปฏิบัติธรรมในเชิงวิเวกแล้ว ยังสามารถมองเห็นภูมิทัศน์รอบด้าน ที่ไม่ต่างจากภาพเขียนถึงความงามของธรรมชาติที่เป็นจริง

ในแง่ของมรดกทางธรรมชาติที่ถูกเก็บรักษาเอาไว้อย่างดีนั้น บึงกาฬมี “หนองกุดทิง” หรือดอนหอทุ่ง ที่พ่อตู้พรมได้ไปสละร่างทิ้งไว้ที่นั่น เป็นความงามและความอุดมสมบูรณ์ของผืนน้ำซึ่งกว้างใหญ่ถึง 22,000 ไร่ กับความลึกที่ 5-10 เมตร ซึ่งได้รับการคุ้มครองด้วยการจดทะเบียนขึ้นเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำแห่งที่ 2 ของจังหวัดหนองคายมาก่อน
     
สถานที่แห่งนี้อยู่ห่างตัวเมืองบึงกาฬออกไปเพียง 1 กิโลเมตร และเป็นแหล่งที่หลากหลายทาง ชีวภาพ โดยมีสัตว์น้ำกว่า 250 สายพันธุ์รวมตัวกันอยู่ในนั้น มีพันธุ์ปลาที่ผืนน้ำแห่งอื่น ๆ ไม่มีอยู่ 20 สายพันธุ์ พืชน้ำอีกกว่า 200 ชนิด แล้วก็ยังเป็นแหล่งอาศัยของนกน้ำมากถึง 40 ชนิด โดยเฉพาะกลุ่มนกเป็ดน้ำประเภท เป็ดหัวดำ เป็ดคับแค เป็ดแดง เป็ดผีเล็ก และนอกจากนี้ยังมีนกประจำถิ่นอยู่เคียงท้องน้ำอีก เช่น นกอีล้ำ นกพริก นกยางไฟ นกกวัก นกกระเต็นอกขาว พวกนี้อยู่กันได้โดยไม่หนีหายไปไหน เพราะไม่มีใครไปเข่นฆ่าหรือทำร้ายมัน!
     
ทรัพยากรอันล้ำค่า หรือผืนป่าที่มีอิทธิพลต่อท้องถิ่นมหาศาลของบึงกาฬ จะเป็นอื่นไปไม่ได้ นอกจาก “เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูวัว” ที่มีราวป่ารายล้อมอยู่บนพื้นที่ 186 ตารางกิโลเมตร หรือ 116,562 ไร่ กับมีการผนวกขึ้นในภายหลังอีก 8,100 ไร่ รวมเป็นแปลงป่าผืนใหญ่ถึง 124,662 ไร่ กว้างใหญ่พอที่สัตว์ป่าหลากชนิดจะใช้เป็นที่อยู่อาศัย และมากมีด้วยพันธุ์ไม้ที่เริ่มหายากแล้วในป่าเมืองไทย
     
แต่ในแง่ของการท่องเที่ยว เมื่อแปลงป่าภูวัวคือแหล่งกำเนิดของต้นน้ำหลายสาย ที่นี่จึงเป็น เส้นทางของสายน้ำที่ไหลผ่านภูผาหินลงมาเป็นน้ำตกซุกตัวอยู่ในป่าหลายแห่ง ทั้งแบบไหลเป็นแนวดิ่งจากผาสูงสู่ธารน้ำ และไหลเป็นทางกว้างให้ดูอัศจรรย์ จำนวนนั้น ได้แก่ น้ำตกเจ็ดสี ที่เกิดจากแรงกระเซ็นของละอองน้ำ ยามต้องแสงตะวันให้กลายเป็นสีรุ้งพุ่งขึ้นเป็น 7 สี
     
น้ำตกชะแนน ที่แผลงมาจากคำว่า “ตาดสะแนน” ในภาษาถิ่นอีสาน ที่หมายถึง น้ำตกซึ่งมีความงามที่สุด น้ำตกตาดนกเขียน น้ำตกถ้ำฝุ่น น้ำตกถ้ำพระ ซึ่งแต่ละแห่งยังคงแฝงเร้นอยู่ในแนวป่า ที่ถ้าไม่ใช่นักนิยมไพรตัวจริง ก็ยังมิอาจเดินทางไปถึงน้ำตกเหล่านี้ได้
     
นี่คือความเป็นตัวตนที่แท้จริงของท้องถิ่นบึงกาฬ ที่สมควรยกระดับการปกครองขึ้นเป็นจังหวัดเม็ดงาม เคียงข้างแดนดินถิ่นกุหลาบปากซัน โดยไม่จำเป็นต้องให้นักการเมืองเข้าไปสวมรอย แล้วสอยเอาทางบุญเป็นใบเบิกทางสู่ความสำเร็จแทนคุณจากประชาชน!.

“ในแง่ของมรดกทางธรรมชาติที่ถูกเก็บรักษาเอาไว้อย่างดีนั้น บึงกาฬมี “หนองกุดทิง” หรือดอนหอทุ่ง ที่พ่อตู้พรมได้ไปสละร่างทิ้งไว้ที่นั่น เป็นความงามและความอุดมสมบูรณ์ของผืนน้ำซึ่งกว้างใหญ่ถึง 22,000 ไร่ กับความลึกที่ 5-10 เมตร ซึ่งได้รับการคุ้มครองด้วยการจดทะเบียนขึ้นเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำแห่งที่ 2 ของจังหวัดหนองคาย”

รู้ไว้ก่อนไปเที่ยว

จังหวัดบึงกาฬ ได้รับการประกาศให้เป็นจังหวัดที่ 77 โดยแยกออกมาจากจังหวัดหนองคาย เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2554 ประกอบด้วยอำเภอต่าง ๆ 8 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองบึงกาฬ เซกา โซ่พิสัย บุ่งคล้า บึงโขงหลง ปากคาด พรเจริญ และศรีวิไล อยู่ห่างกรุงเทพฯ ประมาณ 750 กิโลเมตร
     
การเดินทาง สามารถเดินทาง จากจังหวัดหนองคาย ด้วยทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 212 ประมาณ 136 กิโลเมตร จากจังหวัดนครพนม ด้วยทางหลวงหมายเลข 212 ประมาณ 170 กิโลเมตร จาก อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร ด้วยทางหลวงหมายเลข 222 และ 2280 ประมาณ 132 กิโลเมตร สามารถเดินทางข้ามลำน้ำโขงโดยเรือโดยสารได้ ระหว่าง อ.เมืองบึงกาฬ-เมืองปากซัน แขวงบลิคำไซ สปป.ลาว 
     
ที่พัก มีโรงแรมและรีสอร์ท ราคาประมาณ 300–800 บาท ประมาณ 70 แห่ง และมีแนวโน้มจะเพิ่มมากขึ้นในเร็ว ๆ นี้
     
คำขวัญประจำจังหวัดบึงกาฬ-สองนางศาลศักดิ์สิทธิ์ อิทธิฤทธิ์หลวงพ่อใหญ่ แหล่งน้ำใสหนองกุดทิง สุดใหญ่ยิ่งแข่งเรือยาว หาดทรายขาวเป็นสง่า (หาดบริเวณแม่น้ำโขง) น่าทัศนาแก่งอาฮง งามน้ำโขงหน้าบึงกาฬ สุขสำราญที่ได้ยล
     
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานอุดรธานี โทร. 0-4232-5407–8

ทีมวาไรตี้









ที่มา : เดลินิวส์

วันเสาร์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2556

ศข.4 จัดอบรมเรื่องระบบน้ำหยดให้แก่ชาวไร่อ้อย


   ศข.4 จัดอบรมเรื่องระบบน้ำหยดให้แก่ชาวไร่อ้อย
เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2550 ที่ผ่านมา
IP: 125.24.139.13
 
 From:น้องส้มจุกDateTime: 19/01/2550Email:thawath78@yahoo.com

เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2550 ที่ผ่านมา
ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย เขต 4 ร่วมมือกับโรงงานน้ำตาลอุตสาหกรรมอีสาน และบริษัทเนต้าฟิม (ประเทศไทย) จำกัด จัดการอบรมให้แก่เกษตรกรชาวไร่อ้อย เรื่อง การส่งเสริมเกษตรกรชาวไร่อ้อยใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อการปลูกอ้อยด้วยระบบน้ำหยด ทั้งนี้เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของเกษตรกรชาวไร่อ้อย รวมทั้งเพื่อการแก้ไขปัญหาการผลิตอ้อยของเกษตรกร เพื่อเพิ่มผลผลิต รวมทั้งเพื่อการป้องกันและลดความเสี่ยงและผลกระทบจากปัญหาความแห้งแล้ง ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ทุกปี
ทั้งนี้มีศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย เขต 4 มีความเชื่อมั่นว่า เกษตรกรชาวไร่อ้อยเองก็ให้ความสนใจกับการให้น้ำแก่อ้อยเพื่อเพิ่มผลผลิตและลดผลกระทบจากความแห้งแล้งอยู่แล้ว แต่เนื่องจากอุปสรรคทางด้านต้นทุน และปริมาณน้ำที่มีอยู่อย่างจำกัด ทำให้ไม่สามารถดำเนินการได้อย่างเต็มศักยภาพ ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย เขต 4 จึงได้แนะนำรูปแบบการให้น้ำแก่อ้อย ในรูปแบบที่เป็นเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ ที่เรียกว่า ระบบน้ำหยด ที่ทำให้สามารถให้น้ำแก่อ้อยได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเพียงพอต่อความต้องการของอ้อย และมีความประหยัด
ทั้งนี้ ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย เขต 4 นั้นได้ดำเนินการภายใต้แนวนโยบายและแผนยุทธศาสตร์ของสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย ในอันที่จะส่งเสริมการผลิตอ้อยให้มีคุณภาพ ประสิทธิภาพ และประสิทธิผล ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย เขต 4 จึงได้ประสานความร่วมมือกับหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชนในส่วนภูมิภาค รวมทั้งกลุ่มบุคคลที่มีความเกี่ยวข้องกับอ้อย และเกษตรกรชาวไร่อ้อย เพื่อเร่งส่งเสริม จัดอบรม โดยมีเป้าหมายและความมุ่งหวัง ที่จะเผยแพร่ความรู้ และแนวความคิดการใช้ระบบน้ำที่มีคุณภาพในไร่อ้อย การอบรมเพื่อส่งเสริมระบบน้ำหยดในครั้งนี้ จึงเป็นอีกครั้งหนึ่ง ที่ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย เขต 4 ร่วมมือกับหน่วยงานในภูมิภาคจัดขึ้นมา
โดยเนื้อหา สาระ กิจกรรมของการอบรมจะเป็นอย่างไรนั้น
เพื่อโปรดทัศนา
IP: 125.24.139.13
 
 ความคิดเห็นที่ : 1From:น้องส้มจุกDateTime:19/01/2550Email:thawath78@yahoo.com

โรงงานน้ำตาลอุตสาหกรรมอีสาน ได้ให้ความสนใจและความสำคัญกับการจัดการน้ำในไร่อ้อย จึงได้ส่งเสริมให้เกษตรกรชาวไร่อ้อย ได้ใช้ระบบน้ำหยด ซึ่งสอดคล้องกับแผนงานของศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย เขต 4
มีเกษตรกรชาวไร่อ้อย ในเครือข่าย ของโรงงานน้ำตาลอุตสาหกรรมอีสาน จำนวนกว่า 30 คน ซึ่งมีความสนใจ มีความต้องการ และจะดำเนินการติดตั้งระบบน้ำหยดในแปลงอ้อยของตัวเอง ภายใต้การส่งเสริมและสนับสนุนของโรงงาน
IP: 125.24.139.13
 
 ความคิดเห็นที่ : 2From:น้องส้มจุกDateTime:19/01/2550Email:ไม่ระบุ

โดย ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย เขต 4 ได้เข้าไปดำเนินการฝึกอบรมเพื่อให้ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับระบบน้ำหยด โดยได้มีการติดต่อบริษัทเนต้าฟิม (ประเทศไทย) จำกัด ผู้ผลิต จำหน่าย และติดตั้งระบบน้ำหยด มาให้ความรู้ในเรื่องการติดตั้งระบบน้ำหยดอีกทางหนึ่ง โดยมุ่งหวังให้เกษตรกร ได้มีความรู้และความเข้าใจ พื้นฐานและการจัดการระบบน้ำหยดให้เกิดประสิทธิภาพ ก่อนที่จะได้เรียนรู้การติดตั้งในภาพสนาม IP: 125.24.139.13
 
 ความคิดเห็นที่ : 3From:น้องส้มจุกDateTime:19/01/2550Email:ไม่ระบุ

เกษตรกรที่มารับการอบรมในครั้งนี้ ล้วนมีความต้องการติดตั้งระบบน้ำหยดในไร่อ้อยของตัวเองทั้งสิ้น จึงง่ายทมี่จะเกิดการรวมกลุ่ม การปรึกษาหารือกัน เพราะต่างพูดคุยในเรื่องเดียวกัน จึงกลายเป็นการสร้างเครือข่ายอย่างไม่เป็นรูปแบบ แต่มีความมั่นคงIP: 125.24.139.13
 
 ความคิดเห็นที่ : 4From:น้องส้มจุกDateTime:19/01/2550Email:ไม่ระบุ

การศึกษาดูงาน ในไร่อ้อย ในส่วนของโรงงานน้ำตาลอุตสาหกรรมอีสาน เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมการฝึกอบรม ทั้งนี้เพื่อให้เกษตรกรได้มองเห็นสภาพตัวอย่างจริง และมีความเข้าใจในระบบน้ำหยดมากกว่าการบอกเล่า IP: 125.24.139.13
 
 ความคิดเห็นที่ : 5From:น้องส้มจุกDateTime:19/01/2550Email:ไม่ระบุ

ทั้งนี้ เพราะเกษตรกรที่เข้าร่วมการอบรมในครั้งนี้มีแผนดำเนินการติดตั้งระบบน้ำหยดที่ชัดเจนแล้ว ดังนั้น การได้ดำเนินการทดลองปฏิบัติในแปลง จากตัวอย่างจริง จึงเป็นการกระตุ้นความสามารถในการติดตั้งระบบน้ำหยดในแปลงอ้อยของตัวเอง IP:125.24.139.13
 
 ความคิดเห็นที่ : 6From:น้องส้มจุกDateTime:19/01/2550Email:ไม่ระบุ

ตัวแทนจากบริษัทเนต้าฟิม (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งเป็นหนึ่งในทีมวิทยากร ก็สาธิตการติดตั้งระบบน้ำหยด แก่เกษตรกรผู้เข้ารับการฝึกอบรม รวมทั้งเพื่อกระตุ้นให้เกษตรกรชาวไร่อ้อย เกิดคำถามและข้อสงสัยในกระบวนการและระบบการทำงานของระบบน้ำหยด และได้รับการคลี่คลายปัญหาจากผู้ที่มีความเกี่ยวข้องได้โดยตรง IP: 125.24.139.13
 
 ความคิดเห็นที่ : 7From:น้องส้มจุกDateTime:19/01/2550Email:ไม่ระบุ

ท่ามกลางแดดเปรี้ยงที่แผดเผา แต่ความต้องการการเรียนรู้ของเกษตรกร ก็ไม่ถูกลดลงจากดีกรีความร้อนของอากาศ
เอกสารที่ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย เขต 4 และบริษัทแนต้าฟิม แจกจ่าย บ้างจึงถูกนำมาใช้เพื่อลดการแผดเผาของดวงอาทิตย์ยามเที่ยงวัน
IP: 125.24.139.13
 
 ความคิดเห็นที่ : 8From:น้องส้มจุกDateTime:19/01/2550Email:ไม่ระบุ

ผู้บริหารของ โรงงานน้ำตาลอุตสาหกรรมอีสาน ซึ่งเป็นผู้หนึ่งที่ให้ความสำคัญกับการผลิตอ้อยที่มีคุณภาพ และการใช้ระบบน้ำหยด จึงไม่ยอมหลบเข้าร่ม เพื่อการพิสูจน์ให้เห็นถึงความต้องการให้เกิดการเรียนรู้อย่างครบวงจร และบูรณาการ IP:125.24.139.13
 
 ความคิดเห็นที่ : 9From:น้องส้มจุกDateTime:19/01/2550Email:ไม่ระบุ

จากเที่ยงตรง จนบ่ายคล้อย
จากแสงแดดที่แผดผา จนถึงสายลมที่พัดเย็น
เกษตรกรชาวไร่อ้อยผู้ให้ความสนใจติดตั้งระบบน้ำหยด ก็ไม่ยอมละสายตาจากบรรดาวิทยากร พร้อมทั้งตั้งคำถามอย่างไม่ลดละ เพื่อให้เกิดความกระจ่างใจในเนื้อหาสาระ เพื่อการปฏิบัติจริง ในแปลงอ้อยของตัวเอง
เมื่อการอบรม และการศึกษาดูงาน รวมทั้งปฏิบัติจริงในแปลงอ้อยสิ้นสุดลง เกษตรกรชาวไร่อ้อย ก็มีความพร้อมที่จะไปติดตั้งระบบน้ำหยดในแปลงอ้อยของตัวเอง เหลือแค่การเบิกวัสดุอุปกรณ์ภายใต้การสนับสนุนจากโรงงาน และติดตั้ง รวมทั้งบริหารจัดการต่อไป
อย่างไรก็ตาม แม้ภาระหน้าที่การฝีกอบรมเรื่องระบบน้ำหยดของ ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตามทราย เขต 4 จะสิ้นสุดลง แต่ก็มีภาระ และพันธกิจตามมา คือ การติดตาม การดำเนินการติดตั้งระบบน้ำหยดของเกษตรกรรายดังกล่าวด้วย ซึ่งจะเกิดขึ้นตามมาในเร็ววัน
จากห้องประชุมที่แน่นด้วยวิชาการ สู่แสงแดดที่แผดเผา จวบจนเวลากลับสู่พิกัดที่ตั้งเดิมมาถึง  น้องส้มจุก ก็ได้เรียนรู้ว่า  ไม่ง่ายเลยที่จะปลูกอ้อยให้ได้คุณภาพ ประสิทธิภาพ และประสิทธิผล แต่ก็ไม่ยากเลย ที่จะก้าวไปสู่จุดที่มุ่งหวัง แค่เปิดใจ รับรู้ เรียนรู้ ก็สำเร็จไปกว่าครึ่งแล้ว
IP: 125.24.139.13
 
 ความคิดเห็นที่ : 10From:น้องส้มจุกDateTime:19/01/2550Email:ไม่ระบุ

สุดยอด เป็นที่พึ่งของชาวไร่อ้อยจริงๆ หวังว่าคงได้รับรู้เทคนิคอะไรใหม่ๆ เรื่อยนะจ๊ะ IP: 10.1.2.10
 
 ความคิดเห็นที่ : 11From:]ลูกพลับDateTime:24/01/2550Email:ไม่ระบุ

มีคุณพ่อรวยค่ะ  แต่อยากเป็นชาวไร่อ้อย  จะติดต่อขอเข้ารับการอบรมได้อย่างไร
IP: 203.113.61.105
 
 ความคิดเห็นที่ : 12From:หมวยห้องแอร์DateTime:26/01/2550Email:ไม่ระบุ

คุณ หมวยห้องแอร์
มาตรแม้น คุณหมายห้องแอร์ (ซึ่งเข้าใจว่าเป็นสาว.... สวย... และอื่น ๆ) สนใจรับการอบรมเรื่องระบบน้ำหยดแล้วไซร์ โปรดอ่านข้อความดังปรากฏต่อไปนี้
ตามที่สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย มีแนวนโยบายและแผนยุทธศาสตร์ เพื่อส่งเสริมการให้น้ำแก่อ้อยอย่างมีประสิทธิภาพด้วยระบบน้ำหยดแก่เกษตรกรชาวไร่อ้อยทั่วประเทศ โดยมี ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย (ศข.) ทั้ง 4 เขต เป็นหน่วยงานหลักในส่วนภูมิภาคสำหรับการขับเคลื่อนนโยบายข้างต้น ซึ่งแต่ละ ศข. จะมีช่วงเวลาของการจัดอบรมระบบน้ำหยดที่แตกต่างกันไปตามช่วงเวลา โดยสอดคล้องกับความต้องการของเกษตรกร และสภาพการดำเนินการปลูกอ้อยของแต่ละเขตพื้นที่
ต้องขออภัย คุณหมวยห้องแอร์ ที่ผมเองไม่สามารถชี้ชัดวัน เวลา และสถานที่ของแต่ละ ศข. ที่จะจัดการอบรมระบบน้ำหยดได้ หาก  คุณหมวยห้องแอร์  อยู่ในเขตรับผิดชอบของ ศข. ใด โปรดติดต่อไปยังจุดรับผิดชอบดังกล่าว แต่หากอยู่ในห้องแอร์ แถวบางกอก โปรดติดต่อ สำนักพัฒนาวัตถุดิบ สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย  ซึ่งผมเข้าใจว่า จะมีข้อมูลสนับสนุนให้ได้ในระดับหนึ่ง
จึงเรียนมา  เพื่อจะได้รวยยิ่งขึ้น
IP: 58.10.93.88
 
 ความคิดเห็นที่ : 13From:น้องส้มจุกDateTime:29/01/2550Email:thawath78@yahoo.com

ขอบคุณค่ะ ^.^ IP: 203.113.61.105
 
 ความคิดเห็นที่ : 14From:หมวยห้องแอร์DateTime:29/01/2550Email:ไม่ระบุ

แล้วเวลาที่เราจะเก็บเกี่ยวอ้อย ล่ะครับ  คือตอนที่เราตัดอ้อย มันจะไม่โดนสายท่อน้ำหยดหรือครับ
และรถเข็นมันทับสายท่อแตกหรือเปล่าครับ  รถเข็นอ้อยน่ะครับ
ช่วยแนะนำหน่อยครับผม
IP: 172.16.0.1
 
 ความคิดเห็นที่ : 15From:เชาวลิตDateTime:22/04/2555Email:chaowalit_tuensuk@hotmail.com

เชิญร่วมแสดงความคิดเห็น